ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
ฮาร์ดแวร์ (hardware) หมายถึง
อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์
มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ
คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ
ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing
Unit : CPU) หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยแสดงผล
(Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary
Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน
ดังนี้
1. หน่วยประมวลผลกลาง (CPU)
หน่วยประมวลผลกลาง ( CPU : Central
Processing Unit ) หรือมักจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าไมโครโปรเซสเซอร์
มีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูล ในลักษณะของการคำนวณและเปรียบเทียบ
โดยจะทำงานตามจังหวะเวลาที่แน่นอน เรียกว่าสัญญาณ Clock เมื่อมีการเคาะจังหวะหนึ่งครั้ง
ก็จะเกิดกิจกรรม 1 ครั้ง เราเรียกหน่วย ที่ใช้ในการวัดความเร็วของซีพียูว่า
“เฮิร์ท”(Hertz) หมายถึงการทำงานได้กี่ครั้งในจำนวน 1 วินาที
เช่น ซีพียู Pentium 4 มีความเร็ว 2.5 GHz หมายถึงทำงานเร็ว
2,500 ล้านครั้ง ในหนึ่งวินาที กรณีที่สัญญาณ Clock เร็วก็จะทำให้คอมพิวเตอร์เครื่องนั้น
มีความเร็วสูงตามไปด้วย ซีพียูที่ทำงานเร็วมาก ราคาก็จะแพงขึ้นมากตามไปด้วย
การเลือกซื้อจะต้องเลือกซื้อให้เหมาะสมกับงานที่ต้องการนำไปใช้
เช่นต้องการนำไปใช้งานกราฟฟิกส์ ที่มีการประมวลผลมาก
จำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องที่มีการประมวลผลได้เร็ว
ส่วนการพิมพ์รายงานทั่วไปใช้เครื่องที่ความเร็ว 100 MHz ก็เพียงพอแล้ว
2. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
หน่วยป้อนข้อมูล (Input Unit) ทำหน้าที่ในการป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการป้อนข้อมูล เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ได้แก่ แป้นพิมพ์
สำหรับพิมพ์ตัวอักษรและอักขระต่าง ๆ เมาส์สำหรับคลิกสั่งงานโปรแกรม
สแกนเนอร์สำหรับสแกนรูปภาพ จอยสติ๊ก สำหรับเล่นเกมส์ ไมโครโฟนสำหรับพูดอัดเสียง
และกล้องดิจิตอลสำหรับถ่ายภาพ และนำเข้าไปเก็บไว้ ในดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์
เพื่อนำไปใช้งานต่อไป
3. หน่วยแสดงผล (Output Unit)
หน่วยแสดงผล (Output Unit) มีหน้าที่ในการแสดงผลข้อมูล
ที่ผ่านการประมวลผลในรูปของ ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวหรือ เสียง เป็นต้น
อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแสดงผลได้แก่ จอภาพ (Monitor) สำหรับแสดงตัวอักษรและรูปภาพ
เครื่องพิมพ์ (Printer) สำหรับพิมพ์ข้อมูลที่อยู่ในเครื่อง
ออกทางกระดาษพิมพ์ ลำโพง (Speaker) แสดงเสียงเพลงและคำพูด เป็นต้น
4. หน่วยความจำ (Memory Unit)
หน่วยความจำ (Memory Unit) มีหน้าที่ในการจำข้อมูล
ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ มีอยู่ 2 ชนิดคือ หน่วยความถาวร (ROM : Read Only
Memory) เป็นหน่วยความจำที่สามารถจำข้อมูลได้ตลอดเวลา
ส่วนหน่วยความจำอีกประเภทหนึ่งคือ หน่วยความจำชั่วคราว (RAM : Random
Access Memory) หน่วยความจำประเภทนี้
จะจำข้อมูลได้เฉพาะช่วงที่มี การเปิดไฟเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น
หน่วยความจำชั่วคราว ถือว่าเป็นหน่วยความจำหลักภายในเครื่อง
สามารถซื้อมาติดตั้งเพิ่มเติมได้ เรียกกันทั่วไปคือหน่วยความจำแรม
ที่ใช้ในปัจจุบันคือ แรมแบบ SD RAM , RD RAM เป็นต้น
หน่วยความจำสำรองคืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลไว้ใช้ในโอกาสต่อไป
เนื่องจากหน่วยความจำแรม จำข้อมูลได้เฉพาะช่วงที่มีการเปิดไฟ
เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น ถ้าต้องการเก็บข้อมูลไว้ใช้ในโอกาสต่อไป
จะต้องบันทึกข้อมูลลงในหน่วยความจำสำรอง
ซึ่งหน่วยความจำสำรองมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน แต่มีนิยมใช้กันทั่วไปคือ ฮาร์ดดิสก์
ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม ดีวีดีรอม ทัมท์ไดร์ฟ เป็นต้น
ประเภทตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ (Case)
Full Tower (ฟูลทาวเวอร์)
คือ เคสประเภทรุ่นใหญ่ ขนาดความสูงประมาณ 55-60 Cm ขึ้นไปมีช่องว่างเหนือเมนบอร์ด
และ สามารถใส่ Drive ได้มากเป็นพิเศษ
ผู้ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญคอมพิวเตอร์ หรือนักเล่นเกม จะนิยมประเภทนี้
เพราะใส่อุปกรณ์ได้มาก และระบายความร้อนได้ดีกว่า แต่ราคาก็สูงตามไปด้วย
นิยมเอามาทำเป็นเครื่อง server)
Mid Tower (มิดทาวเวอร์)
คือ เคสขนาดกลาง เคสที่เห็นกันในท้องตลาด ส่วนใหญ่จะเป็นขนาดนี้ ไม่เล็กไม่ใหญ่
มีเนื้อที่ในการเพิ่มอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าไปได้มากกว่า
ยังเหมาะที่จะวางบนโต๊ะทำงานได้ ถือว่าเป็นขนาดมาตรฐาน)
Mini Tower (มินิทาวเวอร์)
คือ เคสขนาดเล็ก รูปร่างกะทัดรัด จะวางบนโต๊ะ หรือ ใต้โต๊ะก็สะดวก แต่ข้อเสีย
คือเพิ่มอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าไปอีกค่อนข้างลำบาก เพราะว่าพื้นที่ภายในแคบ)
Desktop (เดสก์ทอป) เพื่อประหยัดพื้นที่
โดยเอาจอภาพวางซ้อนไว้ที่ด้านบน มีข้อเสียคือจะเพิ่มเติมอุปกรณ์ อีกแทบไม่ได้เลย)
ส่วนประกอบเมนบอร์ด
เมนบอร์ด (Mainboard) คือ
อุปกรณ์ส่วนกลางที่สำคัญรองมาจากซีพียูเพราะทำหน้าที่เชื่อมต่อสำหรับอุปกรณ์ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เรียกว่าแทบจะทั้งหมดตั้งแต่
ซีพียู ฮาร์ดดิส การ์ดจอ พาเวอร์ซับพลาย ฯลฯ
บนเมนบอร์ดเองมีช่องเสียบอุปกรณ์รวมทั้งชิปเซตที่ทำหน้าที่รับและส่งข้อมูล
เมนบอร์ดที่นิยมใช้ในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นมาตรฐานการออกแบบ ATX ปรับปรุงจากระบบเก่าที่เป็นแบบ
Body AT โดยแบบใหม่จะมีการปรับปรุงบริเวณ ซีพียู(CPU)โดยจะย้ายไปไกลพัดลมของแหล่งจ่ายไฟ(Power
Supply) ทำให้สามารถระบายความร้อนได้ดีและรวดเร็วยิ่งขึ้น
1.ซ็อกเก็ตซีพียู (CPU Socket) เป็นตำแหน่งสำหรับติดตั้งซีพียู
รูปแบบซ็อกเก็ตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่น
การเลือกซื้อเมนบอร์ดมาใช้งานนั้นจึงต้องตรวจสอบว่าเมนบอร์ดที่เราซื้อมาใช้นั้นจึงควรเลือกซีพียูและเมนบอร์ดที่มันซ็อกเก็ตซีพียูให้ตรงกันที่นิยมกันจะมี
4 แบบ คือ LGA 775 สำหรับ Core 2 Socket AM2+/AM3
สำหรับ AMD LGA 1366
สำหรับ Core i7 และ LGA 1156
สำหรับ Core i3และ i5
2.พอร์ตที่ใช้ในการเชื่อมต่อ
จะปรากฏอยู่ด้านหลังของตัว(เคส)คอมพิวเตอร์ ใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอก อย่างเช่น
คีบอร์ด เมาส์ ลำโพง เป็นต้น
แต่ละพอร์ตจะมีลักษณะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับอุปกรณีที่นำมาต่อ
3.สล็อตของการ์ดจอ (Graphic Card Slot) ใช้สำหรับเสียบการ์ดจอเพื่อแสดงผลออกมอนิเตอร์
4.สล็อต PCI (PCI Slot) เป็นสล็อตขนาดเล็กใช้ความเร็วในการรับส่งข้อมูลไม่สูงมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับสล็อตการ์ดจอ
สล๊อต PCI ทำหน้่าที่สำหรับติดตั้งการ์ดที่เป็นอุปกรณ์เสริมต่างๆใช้สำหรับเสียบการ์ดเสียง
การ์ดเลน โมเด็มต่างๆ
5.หัวต่อไดรว์ต่างๆ หรือตัวอ่านแผ่นดิสก์
6.ชิปเซต (Chipset) หรือภาษานักคอมเรียกกันว่าชิปรอมไบออส BIOS ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานในส่วนต่างๆของเมนบอร์ด ทั้งส่วนของซีพียู ฮาร์ดดิส การ์ดจอ แรมและอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ
7.ตัวต่อแบบ SATA ใช้เชื่อมต่อฮาร์ดดิสแบบSATA
ประหยัดพลังงานแล้วพื้นที่ใช้สอย และยังระบายความร้อนได้ดี
8.ตัวต่อแบบ IDE ใช้ต่อทั้งฮาร์ดดิสแบบเก่า
ซีดีและดีวีดี
9.ตัวเชื่อมต่อแหล่งจ่ายไฟ จะมีรูปแบบแหล่งจ่ายไฟอยู่ทั้งหมด 2 แบบ คือ
หัวแบบ ATX ซึ่งเป็นหัวต่อหลักที่เมนบอร์ดทุกรุ่นนั้นต้องมี
เมนบอร์ดทุกรุ่นในปัจจุบันจำเป็นต้องใช้หัวต่อชนิดนี้เพิ่มขึ้นมาจากหัวต่อเดิม
และแหล่งจ่ายไฟ(Power Supply) ในปัจจุบันก็ทำหัวต่อชนิดนี้ไว้ให้อยู่แล้วเป็นแหล่งนำเข้าไฟไว้เลี้ยงทุกส่วนของคอมพิวเตอร์
10.ซ็อกเก็ตแรม
ซึ่งซ็อกเก็ตแต่ละแบบจะมีความแตกต่างกันออกไปสังเกตได้จากรอยบาก
ซึ่งเมนบอร์ดแต่ละตัวจะรองรับแรมที่ไม่เหมือนกันต้องสังเกตว่าเมนบอร์ดที่ซื้อนั้นใช่ซ็อกเก็ตแรมแบบไหน
ปัจจุบันก็มีตั้งแต่รุ่นเก่า คือ SDRAM ไปจนถึง DDR , DDR2
และ DDR3
11.ตัวคุมต่างๆ อย่างเช่น ปุ่มpower ปุ่มrestart
ไฟบอกสถานะฮาร์ดดิส
12.ตัวต่อUSB ใช้เฉพาะต่ออุปกรณ์ภายในเคสเท่านั้น
ซอฟต์แวร์
หมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์
คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์
จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง
การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง
ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ
หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์
เพราะเป็นลำดับขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำงานแตกต่างกันได้มากมายด้วยซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกัน
ซอฟต์แวร์จึงหมายรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้การที่เราเห็นคอมพิวเตอร์ทำงานให้กับเราได้มากมาย
เพราะว่ามีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาให้เราสั่งงานคอมพิวเตอร์ ร้านค้าอาจใช้คอมพิวเตอร์ทำบัญชีที่ยุ่งยากซับซ้อน
บริษัทขายตั๋วใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในระบบการจองตั๋ว
คอมพิวเตอร์ช่วยในเรื่องกิจการงานธนาคารที่มีข้อมูลต่าง ๆ มากมาย
คอมพิวเตอร์ช่วยงานพิมพ์เอกสารให้สวยงาม เป็นต้น
การที่คอมพิวเตอร์ดำเนินการให้ประโยชน์ได้มากมายมหาศาลจะอยู่ที่ซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์จึงเป็นส่วนสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์
หากขาดซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น
และมีความสำคัญมาก
และเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ทำให้ระบบสารสนเทศเป็นไปได้ตามที่ต้องการ
แนวโน้มของเทคโนโลยีซอฟต์แวร์
ในอนาคตซอฟต์แวร์จะยิ่งเอื้อให้ใช้งานได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องใช้เวลาในการเรียนรู้มาก ขณะเดียวกันมีลักษณะการใช้งานเชิงกราฟิก
และการปฏิสัมพันธ์ที่โต้ตอบกันได้ทันทีมากขึ้น มีเครื่องมือช่วยผู้ใช้มากขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นคู่มือ คำถามที่ใช้บ่อยและอื่นๆ
ผู้ใช้ทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง
ขณะเดียวกันซอฟต์แวร์เหล่านี้ยังพยายามพัฒนาบนมาตรฐาน เช่น
ซอฟต์แวร์ในองค์การปัจจุบันออกแบบให้ทำงานกับคอมพิวเตอร์หลากหลายลักษณะ เช่น
คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ พีดีเอ เป็นต้น
และยังมีมาตรฐานในการนำเสนอและจัดการเนื้อหาได้มากขึ้นไม่ว่าจะเป็นเอชทีเอ็มแอลและเอ็กซ์เอ็มแอล ขณะเดียวกันยังเป็นซอฟต์แวร์แบบบูรณาการ
เพื่อเชื่อมโยงระบบสารสนเทศต่าง ๆ
ให้สามารถทำงานร่วมกันและสนับสนุนการทำงานของทั้งองค์การ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น